CCI กับการเทรดชาร์ตเปล่า

CCI กับการเทรดชาร์ตเปล่า

                Commodity Channel Index หรือ CCI เป็นอินดิเคเตอร์ตัวที่จะมาแนะว่าช่วยยืนยันการเทรดชาร์ตเปล่าอย่างไร อินดิเคเตอร์ไม่ได้มาเป็นตัวชี้นำการเทรดเพราะหลักการจะอ่านจากข้อมูลที่เกิดขึ้น แล้วแต่วิธีการของแต่ละอินดินเคเตอร์ต่างกันออกไป ตังนั้นสามารถใช้อินดิเคเตอร์เป็นตัวเสริมหรือยืนยันการเทรดได้ อินดิเคเตอร์จะยืนยันว่าอะไรเกิดขึ้น ถ้าเกิดขึ้นในทางที่เราเทรดก็จะสามารถถือรอได้ยาวหรือความเป็นไปได้ก็สูงขึ้น

                ข้อมูลหลักๆ ที่ได้จาก CCI คือ สถานะ overbought หรือ oversold ของคู่เงินนั้นๆ

คุยกันภาษาง่ายๆ พอลากอินดีใส่ชาร์ต ก็จะได้ค่า default ไม่มีอะไรซับช้อนหรือต้องคุยให้ยากเพราะเราเข้าใจหลักการและเอาไปยืนยันการเทรดชาร์ตเปล่าแค่ดูเส้น ถ้าเส้นเกิน 100 ขึ้น ถือว่าเป็น overbought ถ้าต่ำกว่า -100 ลงไป ถือว่าเป็น oversold ความหมายก็ตรงๆ กับภาษอังกฤษเลย overbought แรงซื้อมากไปแล้ว oversold แรงขายมากไปแล้ว โอกาสที่ราคาจะถึงจุดที่กลับตัวมีสูงให้รอเปิดออเดอร์ฝั่งตรงข้าม เช่น overbough ให้รอโอกาสเปิด sell ตอนเส้นหักหัวลง หรือ เส้นต่ำกว่า 100 หรืออาจดูใน timeframe ย่อยประกอบ ส่วนถ้าเป็น oversold ก็ให้รอโอกาสเปิด buy เมื่อเห็นสัญญาณ เช่นเส้นเหนือกว่า -100 หรืออาจดูใน timeframe เล็กลงไปประกอบ

                ถ้าอธิบายเป็นแนวออเดอร์สำหรับ overbought และ oversold ก็หมายความว่า ราคาวิ่งไปเยอะ มีแต่ market orders มีแค่เทรดเดอร์อยากเปิดออเดอร์ มาแต่ทางนั้นๆ มักจะเห็นหลังจากตลาดทำเทรนแล้วพวกเทรดเดอร์ที่เทรดและเทรดเดอร์รอเข้า หรือระยะจากจุดสวิงใหญ่ๆ หรือหลังข่าวแรงๆ  เพราะเมื่อขาใหญ่เปิดเทรดพวกเขาก็ต้องการให้เทรดเดอร์อื่นๆทำตามสิ่งที่พวกเขาทำ คือเปิดเทรดไปทางเดียวกันตามหลังพวกเขาเรื่อยๆ เพื่อว่าออเดอร์ที่เข้ามาหลังพวกขาใหญ่จะได้ใช้ในการปิดทำกำไร เพราะถ้าพวกเขาเปิด buy positions ราคาขึ้น ไป 50 บีบ เขาต้องการปิดที่กำไร 50 บีบ และราคาที่ได้ 50 บีบ ไม่ต้องการให้เกิด slippage สิ่งที่ต้องการคือ buy market orders ที่พอและที่ราคาแถวนั้นๆ  เมื่อเข้าใจว่าขาใหญ่ใช้ประโยชน์อย่างไรจากสถานะที่เกิดจาด overbought oversold เราพอจะบอกได้ว่า CCI 1. สามารถบอกว่าจะออกตอนไหน  2. สามารถยืนยันการเทรด ถ้ายิ่งเริ่มจะวิ่งไปหา overbought oversold สูงขึ้นเรื่อยๆ หมายความว่ามีรายย่อยเปิด หลังจากที่ขาใหญ่เปิดเยอะแล้ว ทำให้ขาใหญ่ได้ออเดอร์พอที่จะปิดทำกำไรได้

                เมื่อเข้าใจการทำงานของออเดอร์ ตลาดและเทรดเดอร์อื่นๆ ทั้งที่ถือออเดอร์อยู่ในตลาดและรอเข้าใหม่ หลักการใช้ CCI ยืนยันหรือประกอบการเทรดคือ 1. หาร่อยรอยขาใหญ่ที่เปิดการเทรดให้เจอ ว่าเป็นการเข้าเทรดจริงไม่ใช่การออกจากตลาด  (ถ้าเข้าเทรดจริงจะเห็น new high/new low เกิดขึ้นหลังจากราคาเอาชนะฝั่งตรงข้าม) 2. อย่าให้ระยะห่างร่อยรอยการเปิดเทรดที่เปิดเผย demand/supply imbalance ที่เป็นต้นตอกับจุดที่จะเข้าเทรดตอนราคากลับมาต้องไม่ห่างกันเกินไป 3. ดู CCI จาก 2 timeframes เปรียบเทียบกัน อย่างในตัวอย่าง H4 สำหรับหาจุดอ้างอิง M30 ดูรายละเอียดจุดอ้างอิงและจุดเข้าเทรด ดูส่วน CCI ใน timeframe ย่อย ต้องเข้าโหมด overbought/oversold และเห็นการหักตัว 4. ดู price action ประกอบที่ timeframe ใช้เข้า หรือไม่ต้องก็ได้ ถ้าความสามารถในการกรองคุณภาพจุดอ้างอิงสูงจากการผ่านประสบการณ์การมองชาร์ตเยอะๆ

                หลักการคือหาร่องรอยขาใหญ่เทรดแล้วเทรดตอนราคากลับมาเทสอีกรอบ เพราะถ้าขาใหญ่เทรดจริงพวกเขาจะพยายามรักษาจุดนั้นใว้และเทรดเพิ่มอีก เลยทำให้เกิด limit orders ที่นั้นอีก เริ่มที่เลข 1 สนใจตรงนี้เพราะราคาเบรกเอาชนะ demand ผ่านเร็วและยังมาปิดล่าง demand ตัวล่างอีก แสดงว่าการที่ราคาวิ่งลงรอบนี้เป็นผลจากการเข้าเทรดจริง แถมสามารถทำให้เกิด trapped traders ในพื้นที่อีกด้วย เวลาผ่านไปจนราคากลับมา ดูเลข 2 ราคาเริ่มดันขึ้นตรงบาร์สีเขียวที่จะวิ่งเข้าหาจุด บอกว่าเป็นการเปิด buy เข้าหา supply ที่เลข 1 ที่กลายมาจาก demand (ตรงนี้เรียกเป็น swap level)  พอมาดูชาร์ต 30 นาที เราจะเห็นว่า ราคายังไม่ถึงจุดที่เราอ้างอิงเป็น supply ที่อยู่ตรงหัวลูกศร แม้ว่า ถ้าดูส่วน CCI จะวิ่งเกิน 100 มาแล้ว แต่เราข้อมูลจากตรงนี้ชัดๆ คือ overbought คือราคามาเยอะแล้ว เราก็รอดูว่าราคาจะมาถึงจุดเปล่า จะเห็นว่าราคามาถึงจุดที่กรอบเลข 5 แม้ CCI จะหักตัวก่อนแต่เราจะรอจนเห็นว่าราคาอยากลงจริงๆ ก่อน คือพอบาร์เขียวขึ้นมาในกรอบ ต่ำกว่าเส้น swap level เล็กน้อยและตามด้วยบาร์แดงทันที นั้นคือยืนยันว่าขาใหญ่เปิดเทรดอีกรอบ เพราะเขาไม่ต้องการให้ราคาเบรกจุดที่เข้าเทรดที่พื้นที่เลข 1  และพอเปิด sell อีกรอบ ตรงนั้นพวกเขาจะได้ buy orders ที่วิ่งขึ้นมา fill ออเดอร์ของพวกเขาได้ตรงนี้ราคาเลยลงอย่างรวดเร็ว เพราะ sell market orders มาจาก 1. Sell limit orders หยุด market orders ที่วิ่งขึ้นไปตอน overbought ไม่ไปต่อ 2. ตอนราคาขึ้นไปไม่มี buy limit มากตอนวิ่งไปจุดนั้น 3. พอราคาหยุดที่จุดนั้นราคาไม่ไปต่อและ reject ข้อมูลเปลี่ยนล่าสุดจาก price action เปลี่ยนและสัมพันธ์กับจุดที่ขาใหญ่ต้องการเปิดเทรด เทรดเดอร์ที่รอเข้าก็จะเริ่ม sell และ trapped traders ดังที่กล่าว นี้คือตัวอย่างการใช้ CCI ช่วยยืนยันการเทรดแล้วรอจนกว่า CCI มาต่ำกว่า -100 ได้

แบบเดียวกัน แต่ตรงพื้นที่อ้างอิงจุดเทรด มี 2 จุดเป็น demand เหนือ demand ยิ่งจะทำให้ราคาพื้นที่ๆ ขาใหญ่เปิดเทรด พวกเขาต้องพยามรักษาไว้ ยิ่งจะทำให้ CCI ตอนยืนยันเห็นชัดและวิ่งไปเร็ว